ดึงผมจนผมร่วง: เผยเบื้องหลังโรค Trichotillomania ที่ซ่อนอยู่

วิธีรักษาโรค Trichotillomania พร้อมแก้ปัญหาผมร่วงไปพร้อมกัน

ผมร่วง

Trichotillomania หรือ โรคดึงผม เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมดึงผมตัวเองออกโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาผมร่วง ผมบาง หรือแม้กระทั่งหัวล้านได้ โดยอาการนี้ ผู้ป่วยมักรู้ตัวว่าการดึงผมนั้นไม่ดี แต่ก็อดไม่ได้ที่จะดึง อาจดึงผมจนหนังศีรษะล้านเป็นจุดๆ รู้สึกอาย รู้สึกผิด และเกิดอาการวิตกกังวลขึ้นมาพร้อมๆ กัน และที่สำคัญ โรค Trichotillomania สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย จึงนับว่าเป็นอีกหนึ่งภาวะที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก

 

สาเหตุของโรค Trichotillomania นั้นยังไม่มีการเปิดเผยออกมาอย่างแน่ชัด แต่เชื่อกันว่าเกิดจากปัจจัยหลายๆ อย่างร่วมกัน เช่น

  • พันธุกรรม
    โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยทางจิตเวชส่วนมาก ก็มักจะได้รับผลพวงมาจากพันธุกรรม ซึ่งถ้าหากพ่อ แม่ หรือคนในครอบครัวมีประวัติการเป็นโรค Trichotillomania มาก่อน ก็ส่งผลให้ผู้ป่วยเองมีพฤติกรรมการดึงผมตัวเองจนผมร่วงได้

  • ปัจจัยทางจิต
    ผู้ป่วยโรค Trichotillomania มักมีปัญหาทางจิตอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือโรคย้ำคิดย้ำทำ ไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ของตนเอง หรือเกิดจากความเครียด วิตกกังวล หรือเหตุการณ์ทางอารมณ์ที่รุนแรง อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการดังกล่าวได้

  • พฤติกรรม
    การดึงผมอาจเริ่มต้นจากพฤติกรรมการดึงผมเล่น หรือการกัดเล็บ พอเมื่อเวลาผ่านไป พฤติกรรมเหล่านี้ก็กลับกลายเป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถควบคุมได้ และอาจทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

อย่างไรก็ตาม สาเหตุต่างๆ ที่ได้กล่าวไปข้างต้นนั้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐานของแพทย์เท่านั้น เพราะในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้อย่างแน่ชัดว่าเกิดจากอะไรกันแน่ แต่คาดว่าเป็นผลมาจากปัจจัยในเรื่องของความผิดปกติทางอารมณ์และจิตใจดังที่กล่าวไปข้างต้น

 

โรค Trichotillomania มีอาการเบื้องต้นอย่างไร?

  • ดึงผมตัวเองออกบ่อยๆ จนส่งผลต่อหนังศีรษะ ทำให้ผมร่วงเป็นหย่อมๆ
  • รู้สึกอยากดึงผมจนอดไม่ได้
  • พยายามหยุดดึงผม แต่ทำไม่ได้
  • รู้สึกอาย รู้สึกผิด และวิตกกังวล ไม่กล้าที่จะพบแพทย์
  • หลีกเลี่ยงการพบปะผู้คน ไม่กล้าเข้าสังคม เนื่องจากอายในเรื่องของรูปลักษณ์
  • รู้สึกพึงพอใจหรือโล่งใจหลังจากดึงผม
  • พยายามซ่อนพฤติกรรมดึงผมจากผู้อื่น
  • รู้สึกละอายหรือรู้สึกผิดเกี่ยวกับพฤติกรรมดึงผม

 

อันตรายจากโรค Trichotillomania

การที่เราดึงผมตนเองบ่อยๆ อาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อที่หนังศีรษะหรือผิวหนังบริเวณที่ดึงออกมาได้ และอาจทำให้สูญเสียผมในบริเวณนั้นอย่างถาวร ไม่สามารถเกิดใหม่ขึ้นมาได้อีก และถึงแม้ว่าโรค Trichotillomania จะไม่ได้ส่งผลอันตรายอะไรต่อร่างกายมากนัก แต่มักจะมีภาวะแทรกซ้อนที่ตามมาได้ เช่น ผู้ป่วยมักจะพยายามหลีกเลี่ยงการเข้าสังคมหรือพบปะผู้คน เพื่อปกปิดบริเวณผมที่ร่วงเป็นหย่อมๆ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาพลักษณ์ บุคลิก และการเข้าสังคม ส่งผลต่อความสัมพันธ์กับผู้อื่นและหน้าที่การงานของตนเองด้วย

 

วิธีการรักษาปัญหาผมร่วง ปัญหาหนังศีรษะ จากโรค Trichotillomania

รู้หรือไม่ว่าปัญหาหนังศีรษะหรือผมร่วงที่เกิดจากพฤติกรรมการดึงผมบ่อยๆนั้น หากมีการดึงผมของตนเองอย่างต่อเนื่องผมที่หลุดร่วงออกไปเป็นหย่อมๆ จะไม่สามารถกลับมาเกิดขึ้นมาได้อีก นั่นจึงทำให้หนังศีรษะของเราดูล้าน และบางลงมากกว่าเดิม ซึ่งแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดคือ การรักษาจากทางคลินิกรักษาผมร่วงโดยตรง เนื่องจากทางคลินิกจะใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในการรักษาที่ดีกว่าการรักษาด้วยยาต่างๆ

ที่ ยศสินี คลินิก เป็นคลินิกรักษาผมร่วง ที่มีเครื่องมือและเทคโนโลยีในการรักษาผมร่วงโดยเฉพาะ โดยทำการตรวจสอบสภาพหนังศีรษะของคุณอย่างละเอียด เพื่อการรักษาผมบาง ผมร่วงได้อย่างตรงจุด โดยมีเทคนิคการรักษา 6 ประเภท ได้แก่

  • Dermoscope คือการเครื่องวิเคราะห์ตรวจหาสาเหตุของผมร่วงโดยผ่านกล้องจุลทรรศน์
  • Hair process การฉีดวิตามินฟื้นฟูสภาพเส้นผมเข้าสู่รากผมโดยตรงป้องกันการหลุดร่วงของผม
  • Hair Balancing Hormone การฉีดวิตามินปรับสมดุลย์ฮอร์โมนเข้าสู่รากผมป้องกันการหลุดร่วง
  • Growth Factor Therapy ฉีดเข้าสู่รากผมป้องกันการหลุดร่วง กระตุ้นผมขึ้นใหม่เหมาะสำหรับผมร่วง รักษาผมบาง จากสาเหตุผมร่วงจากกรรมพันธุ์
  • Injection for Hair Loss การฉีดตัวยา รักษาผมร่วงสูตรของแพทย์เฉพาะตามการวินิจฉัยโรคผมร่วงรายบุคคล
  • Light and LASER แสงเลเซอร์ลดการหลุดร่วงของเส้นผมกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตมาที่หนังศีรษะ เพิ่มความแข็งแรงของเซลล์รากผม ได้ผลดีในโรคผมที่ขาดการบำรุงหรือรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล ได้ผลดีมากหากทำควบคู่กับโปรแกรม Hair process

 

รักษาปัญหาผมร่วง กับ ยศสินี คลินิกรักษาผมร่วง

https://www.yotsineeclinic.net/
Phone : +66 (0)2 458 2836,
E-mail : yotsineeclinic@gmail.com